จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สายใยไหม สายใยผ้า สายใยแห่งวิถี {โดย..อีเกียแดง แห่งรัตติกาล}













อีเกียแดง แห่งรัตติกาล




















                         วิถีการดำรงชีวิตของชาวอีสานบ้านเฮานั่น ผมต้องยอมรับว่าน่าภาคภูมิใจเหลือหลาย เถิงแม้ว่าแต่ละถิ่นสิดำเนินแนวทางที่แปลกแล้วกะแตกต่างกันออกไป แต่กะถือว่าสวยงามตามแบบฉบับของแต่ละถิ่นจนเกิดเป็นเอกลักษณ์ เป็นวิถีอันทรงคุณค่า ควรแก่การเรียนรู้และอนุรักษ์พร้อมที่สิเก็บเกี่ยวสิ่งดีงามนำมาปฏิบัติแล้วกะบอกเล่าให้คนทั่วไปได้ฮู้กัน

                         ทุกมื้อนี่วิถีหลายๆอย่างเริ่มจาง(ย้อนว่าบ่มีคนสืบทอดนั่นเองบ่แม่นจางย้อนบ่ได้ใส่น้ำปลาเด้อขอรับ แห่ะๆ) มันเริ่มสิลางเลือนหายไปกับกาลเวลา การแข่งขันด้วยเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท กิเลสแห่งการโหยหาสนองความอยากของโตเฮาเองเฮ็ดให้ความสุขในชีวิตของเฮาลดลง ซึ่งผมเองกะยอมรับว่าผมกะยังมีความอยาก อยากได้อั่นนั่นอยากได้อั่นนี่ อยากเป็นนั่นอยากเป็นนี่ อยากย่างเฮียงผู้นั่นอยากนั่งนำผู้นี่ นั่น!!..มันกะเลยเกิดเป็นความทุกข์บ่เซาย้อนความอยากนี่เอง {เซาดอก.เดี๋ยวผู้ลังคนสิว่ามาจ่มอีหยั๋งให้ฟังหล่ะท้าว} อั่นทีอ้ายต้องแล่งกับจารย์ใหญ่เลาอยากกินอ่อมเณรน้อยอยากกินก้อยรถมอเตอร์ไซด์เลาบ่เห็นปาก นั่งอยู่เค้าเม้าพอปานเสาธง ไคแนต๊ะอ้ายมังกรเดียวดายเอาดินทรายไปโพ๊ะใส่ค่อยสะเดิดสะเดอ..แห่ะๆ


         ผมเคยได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งซื่อว่า "ยายอีสานเถิงหลานฝรั่ง" จากความอนุเคราะห์ของบ่าวลุ่มดอนไข่ มีบทหนึ่งที่เพินเขียนเถิงหลานน้อยหัวแดง อ่านแล้วกะเป็นต๊ะคึดเอาฮ้าย..เพินหล่ะว่า..


        ...ถ้าหลานกลับมาหายายอีกครั้ง หลานอาจจะพบความเป็นอีสานที่แตกต่างไปจากที่ยายเขียน นั่นเป็นเพราะว่าวันเวลาทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป

       ..ทุ่งนาหลายแปลงเปลี่ยนเป็นสวนยางพาราและสวนยูคาลิปตัส

       ..รถไถเหล็กนำมาใช้แทนวัวควาย การลงแขกดำนาและเกี่ยวข้าว เจ้าของนาจะต้องจ่ายเงินค่าแรงวันละหลายร้อยบาทต่อคน

        ..หูกทอผ้าไหม ผ้าฝ้ายและเครื่องมือในการทอผ้า กลายเป็นแค่ของประดับตามบ้านหรือร้านอาหาร

         ..เสื้อสายเดี่ยวเกาะอก กางเกงยีนส์รัดรูป นำมาสวมใส่แทนเสื้อผ้าไหม ผ้าฝ้าย ชุดผ้าไหมผ้าฝ้ายกลายเป็นอาภรณ์เฉพาะผู้สูงวัย

        ..ครกกระเดื่องที่ใช้ตำข้าวแทบจะไม่มีให้เห็น บางแห่งยังมีอยู่ แต่ก็มีการปรับเปลี่ยนนำเครื่องทุ่นแรงบางอย่างมาผสมผสาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานที่เร็วขึ้น

      ..เด็กๆในหมู่บ้านได้รับการศึกษาตามภาคบังคับ และโรงเรียนขยายโอกาสมีทั่วถึง การศึกษาระดับสูงมาถึงบันไดบ้าน แต่ก็น่าแปลกตรงที่ว่าเมื่อเรียนจบแล้ว น้อยคนนักที่จะกลับมาอยู่บ้านเพื่อพัฒนาท้องถิ่นของตน ส่วนใหญ่ไปหากินในจังหวัดใหญ่ๆ

      ..ประเพณีบุญตามฮีตสิบสองยังคงมี แต่หลายอย่างก็แปรเปลี่ยนไปตามสภาพของสังคมและการเมือง

      ..วันนี้ต้นไม้ใหญ่ของคนอีสานไม่แข็งแรงดังเดิม เพราะรากเหง้าอ่อนแอ ยายเองก็ไม่ต่างไปจากต้นไม้ใหญ่ที่นับวันจะโรยราตามกาลเวลา







                      เอาซิ่นไหมป้าหน่อยมาโชว์เกิ่น


                            นั่นหล่ะครับ..อ่านแล้วกะแม่นควมเพินคัก เหลียวให้เห็นภาพนำคำเว้าพอปานเข้ากองถ่าน  ฮีตอีสานบ่อนบั้นสิเป็นแท้หล่ะจั่งได๋น้อ เอ๊า..จักแม่นอีหยั๋งดอกผมหนิกะดาย ว่าสิออกมาสอยจั่งได๋คือออกมาแนวนี่หล่ะ แห่ะๆ..กะเทินได้ออกมาแล้วกะให้สอยสาเนาะ..


  " อั่นสอย สอย แล้วกะสอย.ผู้สาวส่ำน้อยเพินบ่ฮู้จักบ่าวหน่อตั๊วะ พอแต่ถืกจับหย่อ..อุ๊ย))).อ้ายหน่อ เมืองพลาญ ขา)))))))).."

                        อั่นนี้กะว่าสอย บุ๊ย..งวกหลังไปเบิ่งเห็นแต่ป้าหน่อยกำลังสิวีค้อนมาใส่อยู่พุ้น.เซาดอก


              เข้าเรื่องดีกว่าดอก เดี๋ยวหลายคนสิขิว เอาหนังสะติ๊กยิงอีเกียไปตำป่นแทนแมงดา มื้อนี่เป็นมื้อวันพุธกะเลยได้โอกาสเปิดกระทู้อีกจักอันก่อน (เกี่ยวกันหม่องได๋น้อ เพินว่า ..^_^.. )  พอดีว่าผมมานั่งเห็นของเก่าๆเกี่ยวกับวิถีอีสานหลายๆอย่างกะเลยอยากนำมาเว้าสู่ฟัง เถิงแม้ว่าสิมีควมฮู้บ่พอหางอึ่งแต่กะอยากเว้า (..คันมันอยากเว้ากะปล่อยมันเว้าโล้ดสู..ผู้ลังคนว่า ฮ่าๆๆ..) บ่แม่นหยั๋งดอกครับ เห็นแข่งม้อน(โรงเลี้ยงม้อน)  เห็นอัก เห็นฟืม กะเลยไปถ่ายรูปมาให้เบิ่งสั่นเด้ครับ


            ผู้ลังคน : อั่นเว้าอยู่หนิสิเอารูปแข่งม้อนฮ้างมาให้เบิ่งสั่นติ

            อีเกียแดง: แม่นแล้วคับ นอกจากสิได้เบิ่งแข่งม้อนฮ้างแล้วกะยังมีกระจ่อฮ้างกับกระสวยให้เบิ่งเป็นของแถมนำเด้คับ แห่ะๆ ..เห็นว่ากะเบิ่งนำแนถ่อน บ่ได้เอาเงินจ้างเบิ่งคือเมียงูแบบอ้ายปิ่นลมเด้หล่ะ..

         
           เอาหล่ะเนาะครับเข้าเรื่องอีหลีก่อนสิถืกบักกอกป้าหน่อย..ผมเคยเขียนเรื่องเกี่ยวกับโตม้อนหรือการเลี้ยงม้อนไว้แต่กะยังบ่ทันได้มีรูปมาประกอบปานได๋ บัดนี่ไคแนมีรูปจักหน่อยกะเลยหลอยมาลงไว้ ลังเทือโดนไปอาจสิบ่มีให้เบิ่งเพราะว่ามันสิเสื่อมสลายไปกับกาลเวลา ของแต่ละชิ้นเป็นของอี๊แม่ครับ ซึ่งเพินเองกะยังเฮ็ดงานด้านนี้อยู่โดยตลอด เถิงแม้ว่าบรรดาอาๆป้าๆทั้งหลายสิเซาเฮ็ดกันแล้วกะตามที ผมขอเริ่มตั้งแต่การเลี้ยงม้อนใหม่ๆเลยเนาะครับ..ว่าแล้วกะนำมาสิพาไปจอบหลอยกินม้อนสุกสาก่อน แห่ะๆ







  ฝักสีเหลืองทองที่เห็นนี้ฮู้สึกว่าสิคุ้นตาสำหรับอีเกียแดงเป็นอย่างดี เพราะว่าคลุกคลี(แล่นเหล่นม้าก้านกล้วยมานำกันตั้งแต่ยังน้อย แป่ว..แฮ่..^_^..) ป่าวซ๊ะกะหน่อย เคยจับเล่นลูบๆคลำๆขยำๆเหนี่ยงเล่นมาโดยตลอดสั่นดอกครับ  อั่นนี้ทางบ้านผมกะเอิ้นฝักหลอกเด้อครับ คันฝักหลอกที่โตบี้กัดออกมาแล้วกะสิเอิ้นว่าฝักหลอกหลีบ (หรือลีบกะบ่จักครับ..ตามแต่สิเอิ้น)  เคยถามอี๊แม่ว่าไอ้ฝักหลอก(รังไหม)นี้ถ้าเฮาสิอยากจะขยายพันธุ์เลี้ยงเอาเส้นไหมไว้ต่ำผ้าซิ่นนั่นมันต้องใช้กระบวนการจั๊กมื้อค่อยสิแล้วเสร็จ งานนี้ก็เลยได้ข้อมูลมาแบบคร่าวๆปนตรงเป๊ะแน่จั๊กหน่อย(ฮู้สึกว่าแม่เพินสิฮู้ละเอียดยิบเสียด้วยสิขอรับ พอดีแหล่ะเผื่ออ้ายๆหมู่ๆน้องๆคนได๋อยากฮู้เถิงวัฐจักรการเจริญเติบโตของเจ้าฝักสีทองนี้ว่า มันเป็นมาจั่งได๋พออ่านแล้วกะสิได้ฮ้องว่า. อ๋อ ไปพร้อมๆกันด้วย คริ คริ (อั่นนี้ทฤษฎีอีแม่ผมเด้อครับ..บ่แม่นสูตรตายโตทั่วไปเนาะครับ แต่กะของคนอื่นกะอยู่ในเกณฑ์เดียวกันครับ)  บทความนี้สิเป็นการอ้างอิงมาจากอี๊แม่ผมเด้อครับ หม่องอื่นกะอาจสิบ่คือกันครับ



            ตามกระบวนการแล้วพอเฮามีฝักหลอก(รังไหม)สีทองแล้ว ต้องการสิเลี้ยงต่อไปกะต้องคัดเลือกฝักที่สมบูรณ์ งานนี้แม่บอกว่าต้องนั่งสั่น(บ่แม่นนั่งสั่นแบบเจ้าเข้าทรงเด้ครับ แห่ะๆ)แต่คือการจับสั่นเบาๆให้ฮู้เถิงน้ำหนักโตข้างในฝัก ถ้าหนักแม่บอกว่าเป็นโตเมีย ถ้าเบารับรองว่าเจ้านั่นมันเป็นผู้ชายชัวร์ เบ๊ยย..ช่างสังเกตุแท้หล่ะอี๊แม่นี่กะดาย งานนี้ก็ต้องเลือกคละกันทั้งเบาและหนักเพื่อสิเฟ้นหาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ชั้นหัวกระทิ เอาแบบเคิ่งต่อเคิ่งเลย เมื่อเลือกแล้วกะปล่อยถิ่มไว้ประมาณ10มื้อ แล้วบักโตที่อยู่ข้างในกะสิออกมาจากฝักเองเป็นโตสีขาวหม่นมีปีกนำ  ทางอีสานเรียกว่าบี้ (บ่แม่นบี้ เดอะสตาร์เด้) พอออกมาเฮากะต้องมาเลือกอีกเทือว่าโตผู้โตเมียมีส่ำกันบ่(เท่ากันไหม)  เกิดมีโตเมียหลายแล้วโตผู้น้อย รับรองว่าไอ้ผู้ชายวินม่องแน่ๆ คริ คริ ฉะนั้นทุกอย่างต้องสมดุลกัน เสร็จแล้วกะถิ่มให้เขาเกี้ยวพาราสีกันตามใจสิเฮ็ดอีหยั๋งกันแบบได๋กะเฮ็ดโล้ด (บ่จอบเบิ่งดอกย้านตาต้อ) เมื่อเสพสมอารมณ์หมายแล้วประมาณ20ชั่วโมงเจ้าบี้โตเมียก็สิเริ่มไข่ หลังจากนั้นเฮาก็เก็บไข่ไว้ในที่มิดชิดผ้าปิดแต่ต้องให้อากาศถ่ายเทได้(บ่ฮ้อนจนเกินไป)





                     (ฮูปโตบี้เนาะครับ ผสมพันธุ์กันก่อนที่สิไข่ออกมา แล้วกะสิกลายเป็นโตหนอนน้อย)
ขอบคุณเจ้าของภาพเพินไปนำเด้อครับ ตามลิ้งค์ในฮูปนั่นหล่ะครับ




 หลังจากไข่ได้10มื้อกะฟักเป็นโตอ่อน แม่บอกว่าเริ่มให้อาหารเลยแม้ว่ามันสิน้อยอยู่กะตาม อาหารกะคือใบมอน ต้องซอยน้อยๆเพื่อให้โตอ่อนมันกินได้ การให้ใบมอนกะต้องเป็นสามเวลาเฉกเช่นกับคนเฮาคือกัน (กินเก่งเนาะม้อนนี่กะดาย) จากนั้นไปอีก5มื้อโตม้อนสิเซากินแล้วกะสิเริ่มนอนหลับทับสิทธิ์บ่สนใจอีหยั๋ง ตอนนี้แม่เลาเอิ้นว่าม้อนนอนขน คือโตม้อนมันนอนเป็นเทือแรกนั่นแหล่ะครับ การนอนของมันกะใช้เวลาประมาณ24ชั่วโมงคือกัน ยามมันตึ่นเฮากะเริ่มให้ใบมอนต่อ แล้วเฮากะต้องคอยสังเกตุการเจริญโตของโตม้อนและคอยคัดแยกออกไปยังกระด้งใหม่เพื่อบ่่ให้แออัด ใช้ผ้าคลุมมิดชิดเด้อครับ ถัดจากนั้นไปอีก3มื้อ ม้อนกะสิเริ่มนอนอีก ตอนนี้แม่เอิ้นว่า ม้อนนอน2 ลักษณะการนอนกะใช้ระยะท่อกัน คือ24ชั่วโมง (มันนอนกะสำบายแน เพราะเฮาบ่ต้องเกีย)





  หลังจากนั้นอีก3มื้อมันก็นอนอีก ฮ่าๆๆ แม่เอิ้นว่าม้อนนอน3 บัดนี้กะเริ่มกระบวนการต่อไปเนาะครับ ถัดกันไปหลังจากนั้นอีก5มื้อ ม้อนกะเริ่มนอนอีกแล้วสิ ตอนนี้แม่เอิ้นว่า ม้อนนอนใหญ่ ตอนนี้โตม้อนสิโตสีเขียวและใหญ่ขึ้นเป็นลำดับ การกินใบมอนก็หลายขึ้นตามลำดับ เฮาต้องคอยแยกออกใส่กระด้งเพื่อบ่ให้มันแหย่กัน (ช่วงนี้แหล่ะที่อี๊แม่เลาต้องแล่นหาเก็บใบมอนมาให้ม้อนกิน เช้ากลางเว็นแลง มืดส่ำได๋กะขลุกอยู่ในโรงเลี้ยงพุ้นหล่ะครับ หลังจากที่โตม้อนนอนใหญ่ไปได้7มื้อแล้วเฮากะสิเริ่มสังเกตุได้ว่ามันกินหน่อยลง






  แล้วโตมันกะสิเริ่มออกสีเหลืองสุกใส อ่า!!!ม้อนสิสุกแล้วเด้หนิ (อ้ายมังกรเดียวดายเลาบอกว่าม้อนสุกกินได้บ่เป็นขี้กะตืกดอก พะนะ ) จากนั้นโตม้อนกะสิทะย๊อยทะยอยสุกกันจนเหมิด โตสุกเฮาต้องเก็บแยกออกมาใว้ในกระด้งใหญ่หรือทางอีสานเอิ้นว่ากระจ่อนั่นเองคับ 





                          ..สุกแล้วเก็บไว้ใส่จ่อ อย่าเอาไปใส่ปากคืออ้ายมังกรเพินเด้อหล่ะครับ..


กระจ่อครับ


     โตม้อนที่สุกกะสิเริ่มทอเส้นใยสีทองจนเป็นฝักกลมหรือออกในลักษณะกลมหรือรี  ถัดไปสามมื้อเฮากะดึงออก(อั่นนี้ทางบ้านผมเอิ้นถกฝักหลอก) มาลงหม้อน้ำฮ้อนเพื่อให้ได้เส้นไหมซั่นแหล่วครับ



           เส้นทางสู่การสาวหลอก (ไผ๋อยากลองแน.)

   ..ทุกมื้อนี่ต้องบอกได้เลยครับว่า อาชีพที่เป็นภูมิปัญญาของคนท้องถิ่นเฮาเริ่มสิโรยรากันไปหลายเลย เนื่องจากเป็นงานที่ต้องเอาใจใส่หลาย ตื่นเช้ามาต้องขลุกอยู่กับมัน ยามได้ลงมือเลี้ยงต้องเต็มที่กับมัน แฮ่งยามม้อนเริ่มสิใหญ่การให้อาหารมันกะแฮ่งต๊ะขึ้น เช้าไปเก็บใบมอนเถิงตอนบ่าย(คันบ่มีใบมอนของโตเองเพียงพอกะต้องแล่นหาซื้อตาเป็นว้อหล่ะครับ) เก็บมาแล้วกะมานั่งเสียขี้ม้อนออกก่อนสิให้ใบมอน แม่เลาเลี้ยงรุ่นนึงกะแค่ยี่สิบกว่ากระด้ง ส่ำนี่กะเหล่นเอาเมื่อยแล้วครับ การสาวหลอกกะต้องนั่งอยู่กับความฮ้อนตลอด รุ่นนึงกะได้เส้นไหมอยู่ประมาณ1กิโลกรัม (ซึ่งตามท้องตลาดอยู่ที่กิโลกรัมละหนึ่งพันหกร้อยบาทแล้วเด้ตอนนี่) ผู้ได๋กะว่ามันบ่คุ้มค่าเมื่อย เลยเฮ็ดให้อาชีพแบบนี้ค่อยๆเหมิดไป คนส่วนใหญ่หันหลังให้ หันหน้ากับอาชีพอื่นที่มีรายได้หลายกว่ากว่า สำบายกว่า  ส่วนคนที่เฮ็ดอยู่ กะเฮ็ดด้วยใจฮักและบ่มีทางเลือกนั่นเองครับ  หมู่บ้านผมเองกะเว้าได้เลยครับว่ามีเฮ็ดอยู่บ่เถิงสองคน หนึ่งในนั้นก็คืออี๊แม่เพิน..

   เถิงขั้นตอนนี้ที่เอิ้นว่า สาวหลอกแล้วเด้อ(เจ็บบ่..จื่อบ่..เจ็บหล่ะเนาะจื่อหล่ะเนาะน้ำฮ้อนฟ้งใส่บ่เจ็บจั่งได๋ ฮ่าๆๆ)  นี่คือส่วนที่กำลังสิเห็นผล แต่ว่าผู้บ่าวคนได๋ได้(ถืก)สาวหลอก รับรองชีช้ำผักกาดดองไปโดนเลยหล่ะ แห่ะๆ การสาวหลอกเอาเส้นไหมนั้นต้องใช้ความฮ้อนในอุณหภูมิที่พอเหมาะและการดึงต้องเสมอต้นเสมอปลาย เพราะสิมีผลกับเส้นไหมที่เฮาสิได้  ไหมเส้นน้อยเวลาเอาไปต่ำผ้าไหมกะสิละเอียดงาม ส่วนเส้นใหญ่กะสิออกหนาแน (งานนี้ก็แล้วแต่ความมักของแต่ละคนเนาะครับ บางคนมักไหมเส้นน้อยบางคนมักไหมเส้นใหญ่กะว่ากันไป) 






                   อี๊แม่นั่งสาวหลอกแต่เซ้าฮอดค่ำเลยครับ





 ฝักหลอกหมู่นี้ถืกสาวไหมเปลือกนอกออกก่อนครับ แล้วกะสิค่อยทะยอยเอาลงสาวเอาเส้นไหมแบบละเอียด

















     ผลพวงอันแสนแซบถืกปากไผ๋หลายๆคนครับ ดักแด้นั่นเอง





 มาฮู้จักอุปกรณ์การสาวหลอกที่ผู้บ่าวควรมีประจำโตไว้ครับ แฮ่!!  หม้อหลอกหน่วยดำคัก โตที่คีบอยู่เทิงปากหม้อเอิ้นไม้พวงสาว(สิมีฮูสำหรับสอดเส้นไหมพ้อม) แล้วกะไม้ด้ามสีฟ้านั่นเอิ้นไม้บักหืบครับ(สำหรับควบคุมฝักหลอกและเส้นไหม)






 สาวเส้นไหมใส่กระต่าไว้แล้วกะเอามาเหล่งครับ..เครื่องนี้ทางบ้านผมเอิ้นเหล่ง ของเก่าสิเป็นไม้แต่ตอนนี้พัฒนามาเป็นเหล็ก แล้วงานกะไวขึ้นครับ หมุนติ้วๆคักกว่าอ้ายปิ่นอีก



                                                         เลี้ยงหลายกะสิได้เส้นไหมหลายครับ   มีไหมหลายแล้วกะอยากได้ผ้าซิ่นผ้าสโร่งงามๆเด้เนาะครับ ลองนำไปเบิ่งก่อนเนาะ อี๊แม่เลาเฮ็ดแบบได๋แน




                         เอาเส้นไหมไปต้มฟอกกับน้ำยาก่อน ให้ไหมมันขาวแล้วกะอ่อนนิ่ม



หลังจากนั่นกะเอามากวักใส่กงครับ (อั่นนี้เอิ้นกง)  ขอโทษอย่างสูงสุดที่บ่ได้ถ่ายกงเปล่ามาลง คันอยากเห็นถ่าให้หนูแห่นไหมหมู่คาอยู่ในกงนี่ก่อนเด้อ แห่ะๆ



   จากกงกะมาลงสู่อัก อันนี้เอิ้นอักนะค๊ะ  จากอักกะสิเอาไปปั่นใส่หลอด เคียไส้ตันคือหลอดชั้นดีสมัยนั้นครับ ทุกมื้อนี้กะปรับเปลี่ยนเป็นหลอดแนวใหม่ หลอดกะต้องใช้กันกับไน อีกอั่นนึงกะคือถ้วยอีแป้กับโบกไหม(บ้องไม้ไผ่)



                               อันนี้เอิ้นไน


                      ถ้วยอีแป้ สิมีฮูสำหรับสอดเส้นไหมครับ


                                                                                                              โบกไหม



                                โบกไหมรุ่นใหม่



 อุปกรณ์หมู่นี้ต้องประสานงานกันคับ คักหลายเนาะ

           หลังจากเฮาปั่นใส่โบกแล้ว เฮาเอากลับมาปั่นใส่เหล่งอีกเทือ(โอยปวดหมองนำเนาะกว่าสิได้ผ้าไหม) ต๊ะเลี้ยงม้อนกะว่าโดนคักแล้ว ปั่นใส่เหล่งแล้วบัดเทือนี่กะต้องเอาไหมไปย้อมสีหล่ะครับ(สิเอาไปมัดหมี่)ต้องย้อมเหลืองก่อนครับ ย้อมแล้วค่อยสิได้เอาไหมไปค้นหมี่ อั่นนั่นผมอธิบายคือสิยากอยู่ดอก แต่อี๊แม่เพินกะบอกเต็มที่ ผมได้แต่ยกมือสต๊อปพลีสสส..ไอปวดหมอง ฮ่าๆๆ เป็นอั่นว่ามาเบิ่งเครื่องมือและอุปกรณ์ดีกว่าครับ




 สีย้อมครับ มีหลายสีให้เลือก แต่ก่อนกะสิใช้สีจากธรรมชาติครับ ทุกมื้อนี่กะยังมีอยู่ครับ อันนี้ผมขอชื่นชมภูมิปัญญาอีหลี



                        มีหลากหลายสีให้เลือกครับ



  ขวดยาล้างไหมครับ ล้างให้ไหมเป็นสีขาว


     เมื่อล้างแล้วเพินกะสิเอาไปค้นเนาะครับ นั่นคือค้นลำหมี่เพื่อสิได้มัดลายได้ ส่วนลายหมี่นั่นทุกมื้อนี้มีขายให้เลือกเอาแบบแซวซ๊ะ   สำหรับเครื่องค้นขอติดไว้ก่อนเนาะครับ




   แค่นี่กะนำลายได้ครับ


        หลังจากค้นแล้วกะสิมามัดหมี่สั่นแหล่ว เอามาใส่โฮงจัดลำให้ได้ระดับแล้วกะไล่มัดตามลายได้เลย ผมอธิบายยากเนาะครับขั้นตอนนี่




                                   โฮงหมี่ครับ


 หมี่ลายดอกกุหลาบฝีมือพี่สาวอีเกียแดงครับ 85ลำ ย้อมหรือมัดได้แล้วกะเอาเข้ากี่เตรียมต่ำหูกครับ



        อั่นนี่กระสวยไว้สอด มีคุณสมบัตินอกเหนือจากนี่คือ ส่งคนเข้านอนได้พ้อม แห่ะๆ


                                  ลายหมี่ทางต่ำครับ



                    อั่นนี้เอิ้น บักผัง  ติดหัวไม้ทั้งสองข้างเกาะดันผ้าให้ตึงเวลาเฮาต่ำครับ


                                   ไม้ไคว่ครับ




  เหล็กพันเคียหูกสั่นแหล่วครับ พันอยู่หนิแปดเมตรพุ้นแหล่ว ซิ่น4ต่ง


อุปกรณ์เสริมครับ ฮ่าๆๆ แนวหวีหูก (หวีให้ไหมมันเส้นกลม) เคล็ดลับคือใช้ครีมนวดผมผสมข้าวแช่น้ำ ส่วนปูนเอามาก่านไหมครับ




  ช่วงล่างครับ หมาบักมิ๊กทำหน้าที่ได้ดีเยี่ยม เอิ๊กกกๆๆ.. อี๊แม่ซ่างบ่เหยียบหัวเด้เนาะ




    ว่าแล้วกะต่ำ สอดกระสวยไป-มา  นั่น..เห็นลายงามแล้ว แฮ่..



  หรือจะนำไปทอเป็นผ้าซิ่นตีนแดง ผ้าไหมเอกลักษณ์ของชาวอำเภอพุทไธสง-อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์    ไม่ว่าจะเป็นงานอะไรก็จะได้เห็นผ้าถุงแบบนี้ละลานตาไปหมด ไม่เว้นแต่เด็กๆที่ใส่แล้วดูจะงามตาไปอีกแบบครับ





.. หรือรุ่นสาวๆ ใส่แล้วก็ดูสวยเก๋แบบฉบับเอกลักษณ์ของอำเภอไปเลย ผ้าซิ่นตีนแดงหยอดทอง..สวยมากเลยครับ อำเภอนาโพธิ์ บุรีรัมย์

             ( ภาพนี้ต้องขอบคุณพี่เป๊าะไปด้วยนะครับ)



 น้องยี่..หลานสาวคนโตยืนเป็นแบบให้ กับผ้าซิ่นตีนแดงพุทไธสง บุรีรัมย์ {หกเมตรที่สวมใส่เป็นงานฝีมือคุณแม่ของอีเกียแดง}


ออกมาเป็นผืนผ้าที่สวยงามและน่าภาคภูมิใจนำเนาะครับ จากสายไหมมาสู่ผ้าไหมสวยงาม นี่คืองานที่ผมชื่นชอบเป็นการส่วนโต น่าดีใจอยู่ว่าตอนนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์เพินประกาศให้คนบุรีรัมย์พากันใส่ผ้าไหมออกงานกัน แถมยกอำเภอทางพุทไธสง-นาโพธิ์เป็นผู้นำร่องผ้าไหมดีเด่น นั่นกะคือผ้าซิ่นตีนแดงนั่นเองครับ ไหม คือเส้นสายคือสายใยที่ถักทอเชื่อมโยงสายใยในครอบครัวให้ฮักหมั่นแก่น งดงามเฉกเช่นแสงสีทองของเส้นไหมนั่นเองครับ

                         

                               

            
                                           ด้วยจิตคารวะ

                                   {อีเกียแดง แห่งรัตติกาล}