จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ผญาบุญผะเหวด เดือนสี่ โดยอีเกียแดง แห่งรัตติกาล




พี่น้องเอ๋ย ขอยอยกถกเค้า วิถีเก่าแต่คราวหลัง
หลายคนยังหล่ะยึดถือ จื่อเห็นเป็นคำอ้าง
วิถีทางบ่ต่างเค้า ได้รวมเอาศรัทธาแกร่ง
ดั่งแสงธรรมได้นำแจ้ง แปงทางฮู้สู่ค่าควร
หญิงและชายต่างหมายล้วน ได้หวนก่อต่องานบุญ
เดือนสี่หมุนหล่ะอ่วยมา ศรัทธาใจต่างไหลน้อม
พะยอมหอมกลิ่นเค้า เจ้ามันปลากะว่ากรุ่น
ผะเหวดบุญคือทุนเอื้อ ได้เฟือส่าง(สร้าง)หย่างต่อฮอย
พี่น้องเอ๊ย ประวัติดีมีบ่น้อย บ่อาจปล่อยให้ลอยสูญ
ขอจับจูนค่าคำ ให้นำเห็นหล่ะทางเค้า
ส่องเห็นเงาผู้เอาฤษก เบิกแนวทางให้ตางก่อ
เอาแค่พอให้ฮู้..ยกนามซูเอ่ยอ้าง ให้ทางเจ้าได้เลายิน
โอน้อ พระมาลัยผู้ไกลสิ้น กิเลสปิ่นหล่ะทางจร
นามกรขจรไกล อยู่ในพงศ์เซื้อ
ฤทธาเหลือจนเฟือล้น เหาะเดินวนจนคนส่า
สวรรค์ดาวอยู่ฮาวฟ้า เทวาพ้องกะส่องชม
จุฬามณีกะบ่ม้ม ได้ชมต่อน้อเมืองบน
ดั่งว่าผลค่าธรรม ได้ส่องนำจนเห็นแจ้ง
ประดุจแสงแยงซี้ ชุลีกรได้น้อมต่อ
ดั่งแสงธรรมให้นำพ้อ น้อแก้วค่างาม
พระศรีอารย์คือนามท่าน ผู้ผันถ่ายในภายกาล
สืบความงามทางใจ ให้ฮุ่งใสเทียมแก้ว
สิต่อแนวโคดมท่าน ขันใจรวมให้กวมแกร่ง
ไผอยากแยงฮ่วมแปงปั้น ให้หมั่นส่าง(สร้าง)ทางหย่างควร
สู่ความดีที่งามล้วน ในมวลแก่นทางใจ
หากว่าไผเฮ็ดนำ ผลกระทำย่อมเห็นแจ้ง
ยกแสดงไว้สามข่อ(ข้อ) ฝากต่อทางมาลัยท่าน
ให้จือจำหล่ะนำมั่น สิผันพ้อหล่ะต่อทาง ซั้นแหล๊ว
โอน้อ คุณมารดาว่าเลิศล้ำ บิดาส่ำเทียมเถิง
ให้เจ้าเทินค่าสูง ผดุงงามคือเว้า
อีกทั้งพุทธองค์เจ้า น้อมเอาคุณให้หนุนซ่อย
หล่ะอย่าสะคอยยุเย้า ให้สงฆ์เจ้าสิ้นเหล่าควร
ประพฤติธรรมนำซ้วน ให้ควรค่าว่าทางใจ
ผะเหวดในชาดก ถืกยกเอาหล่ะมาอ้าง
ให้เสริมทางให้สานคล้อง จ่องแนวทางอย่าตางเก่า
สิได้พบเมตไตรยเจ้า ในคราวหน่า(หน้า)บัดห่าลุน พุ้นแหล๊ว
พี่น้องเอ๋ย เป็นประวัติแต่ภายพุ้น ที่หนุนส่องจนมองเห็น
จนสืบเป็นค่าฮอย ที่คอยเพียรหล่ะเวียนน้อม
ดอกพะยอมหอมกลิ่นค้าง กะเถิงทางหว่างเดือนสี่
ผะเหวดบุญหล่ะคราวนี่ คนปรี่ร่วมว่าฮ่วมงาน ซั้นแหล๊วครับ
เตรียมสถานให้งามพร้อม พระซ้อมอ่านมาลัยแสน
ธรรมาสน์แขวนสายโยง ผูกธงทิวจนปลิวว่อน
ทั้งกัณฑ์หลอนกะเตรียมเอ้ สนุกเฮฮ้องหม่วน
ผะเหวดลายงามล้วน สมควรค่าหล่ะว่ายิล
สิบสามกัณฑ์ทั้งเหมิดสิ้น เสียงยินส่งยังคงดัง
แห่ตามหลังดั่งสู่เมือง ตามเรื่องราวแต่คราวกี้
นางมัทรีมีสมส่าง(สร้าง) ชูชกพราหมณ์กะตามต่อ
อีกกัณหาชาลีจ้อ ถืกพราหมณ์ล่อหล่ะสู่เมือง
โอน้อ สมมุติทำหล่ะนำเรื่อง ประเทืองค่าจนพาเห็น
ศีล-ทานเป็นเช่นผลควร ให้หวนตรองดั่งคองเค้า
ฟังธรรมเอาหล่ะใจตั้ง อีกศีล-ทานกะตางต่อ
อย่างละพันสรรหาพ้อ มายอไว่หล่ะใส่งาน
มาลางามดอกบานแย้ม กะแต้มต่อน้องานบุญ
ธูปเทียนหนุนเป็นบุญงาม กะเอาตามดั่งเคยเว้า
อีกทั้งเข่า(ข้าว)เหนียวปั้น กะขันเอาเล่าพันท่อ
มายกยอหล่ะห่อปั้น ขันร่วมให้ฮ่วมมี
พี่น้องเอ๊ย ขออ่วยลงหล่ะตรงนี่ วิถีเรื่องให้เนืองตรอง
ฮักษาคองแต่ก่อนกาล ให้สืบสานหล่ะคงไว้
อีสานไทยสืบสายร่วม สวมสัมพันธ์บ่หันปล่อย
ยังกรุ่นฮอยคอยเห็นเค้า..อีเกียแดงยังแจงเว้า..เอามาอ้างบ่ต่างเคย อยู่เด้ครับ
บทกลอนผญาโดย อีเกียแดง แห่งรัตติกาล@อนิรุทธิ์
๒๖/๒/๒๕๕๘
ปล ผิดพลาดหรือไม่สมควรประการใด ขออภัยท่านผู้รู้นำเด้อครับ
ด้วยจิตน้อมคารวะ
"บุญผะเหวด" เป็นสําเนียงชาวอีสานที่มาจากคําว่า "บุญพระเวส"หรือพระเวสสันดร เป็นประเพณีตามคติความเชื่อของชาวอีสานที่ว่า หากผู้ใดได้ฟัง เทศน์เรื่องพระเวสสันดรทั้ง 13 กัณฑ์จบภายในวันเดียว จะได้เกิดร่วมชาติภพกับพระศรีอริยเมตไตย บุญผะเหวดนี้จะทําติดต่อกันสามวัน วันแรกจัดเตรียมสถานที่ตกแต่ง ศาลาการเปรียญวันที่สองเป็นวันเฉลิมฉลองพระเวสสันดร ชาวบ้านร่วมทั้งพระภิกษุสงฆ์จากหมู่บ้านใกล้เคียงจะมา ร่วมพิธีมีทั้งการจัดขบวนแห่เครื่องไทยทานฟังเทศน์และแห่พระเวส โดยการแห่ผ้าผะเหวด (ผ้าผืนยาวเขียนภาพเล่าเรื่องพระเวสสันดร)
ซึ่งสมมติเป็น การแห่พระเวสสันดรเข้าสู่เมือง เมื่อถึงเวลาค่ำจะมีเทศน์เรื่องพระมาลัย ส่วนวันที่สามเป็นงานบุญพิธี ชาวบ้านจะร่วมกันตักบาตรข้าวพันก้อน พิธีจะมี ไปจนค่ำ ชาวบ้านจะแห่แหน ฟ้อนรําตั้งขบวนเรียงรายตั้งกัณฑ์มาถวายอานิสงฆ์อีกกัณฑ์หนึ่ง จึงเสร็จพิธมูลเหตุของพิธีกรรมพระสงฆ์จะเทศน์เรื่อง เวสสันดรชาดกจนจบและเทศน์ จากเรื่องในหนังสือมาไลยหมื่นมาไลยแสนกล่าวว่า ครั้งหนึ่งพระมาลัยเถระได้ขึ้นไปไหว้พระธาตุเกษแก้วจุฬามณี บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และได้พบปะสนทนากับพระศรีอริยเมนไตย ผู้ที่จะมาเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตและพระศรีอริยเมตไตยได้สั่งความมากับ พระมาลัยว่า "ถ้ามนุษย์อยากจะพบและร่วมเกิดในศาสนาของพระองค์แล้วจะต้องปฏิบัติตนดังต่อไปนี้คือ"
1. จงอย่าฆ่าพ่อตีแม่ สมณพราหมณ์
2. จงอย่าทําร้ายพระพุทธเจ้า และยุยงให้สงฆ์แตกแยกกัน
3. ให้ตั้งใจฟังเทศน์เรื่อง พระเวสสันดรให้จบในวันเดียวด้วยเหตุ ที่ชาวอีสานต้องการจะได้พบพระศรีอริยเมตไตยและเกิดร่วมศาสนาของพระองค์จึง มีการทําบุญผะเหวด ซึ่งเป็นประจําทุกปี