จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

นิยาย กรรมลิขิต 3



ตอน ดวงชะตา


.กรรมหมายถึงการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา เมื่อจงใจแล้วก็ย่อมทำกรรมทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ เรียกว่า กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ตามลำดับ กรรมจึงเป็นคำกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว แต่คนทั่วไปมักเข้าใจว่า กรรมหมายถึงบาปหรือเคราะห์ เป็นการเข้าใจไปในทางร้ายแต่อย่างเดียว เช่น คนที่เกิดมาจนหรือพิการ ก็พูดว่าคนมีกรรม

....พุทธศาสนาสอนว่า ความเป็นอยู่หรือชะตาชีวิตของคนเรานั้น ไม่ขึ้นกับเวลาตกฟาก ไม่ขึ้นกับอำนาจดวงดาว ไม่ขึ้นกับอำนาจพรหมลิขิต แต่ขึ้นอยู่กับกรรม กรรมต่างหากเป็นผู้ลิขิตชะตาชีวิตหรืออนาคตของคนเรา ทุกคนต่างลิขิตโชคดีโชคร้าย ลิขิตความเจริญความเสื่อมให้แก่ชีวิตด้วยกรรมของตนเอง กล่าวคือ ถ้าอยากได้ดีมีความสุขความเจริญ ก็ต้องทำแต่กรรมดี ในทางตรงกันข้าม ถ้าทำกรรมชั่ว ชีวิตก็จะมีแต่ความทุกข์ความเดือดร้อน เป็นไปตามพระบาลีที่ว่า....

กลฺยาณการี กลฺยาณํ ทำดีได้ดี
ปาปการี จ ปาปกํ ทำชั่วได้ชั่ว

บทความดีๆจาก ธรรมจักรครับ






" ....ขวัญหาย....จดหมายจากแม่ส่งมา
เนื้อจดหมายเขียนว่าทุกข์ตรมเจียนบ้านาฝนแล้ง
พ่อก็ซ้ำมีอันต้องตายเพราะมีโจรปล้นควาย ใช้อุบายเสแสร้ง
ซ้ำยิงแทงพ่อยับดับสิ้นใจ บาปซ้ำ..."

เสียงร้องเพลงดังก้องออกมาจากห้องน้ำ แต่แล้วพลันเสียงร้องก็ต้องหยุดชะงักเมื่อมีเสียงหนึ่งดังขึ้นแทรกเสียก่อน

" ไผ่เอ๊ย...ไกล้อาบแล้วยังน้ำนั่นหน่ะ เร็วๆแน แม่หาภาเข่าออกมาแล้วเด๊ะ..
คาต๊ะฮ้องเพลงอยู่ฮั่นหล่ะ " เสียงป้าไหมนั่นเอง

" ไกล้แล้วหล่ะแม่.. ผมสิออกไปเดี๋ยวนี้หล่ะ " //// บาปซ้ำกรรมมาน้องของสาวข้าเป็นไป โจรขืนใจเป็นบ้าใบ้....เสียคน " ตอบแม่ออกไปแล้วกลับไปคลอเพลงอีกทำให้ป้าไหมต้องหัวเราะกับลูกชายของแก

" เหอะๆ ไผ่เอ๊ย..จั่งแม่นมักมักฮ้องเพลงคักน้อ "

กับข้าวมื้อเย็นวันนี้ก็เป็นไปด้วยความเรียบง่ายแต่ผสมไปด้วยความอร่อยเช่นเดิม วิถีการดำรงชีวิตของพวกเขาแม้จะดูลำบากยากแค้นอยู่เนืองๆ แต่ก็เป็นการดำรงชีวิตที่มีความสุข การได้อยู่กับธรรมชาติและแผ่นดินที่สามีทิ้งไว้ให้ ได้ทำอาชีพที่ตัวเองถนัด นี่คือความสุขที่ป้าไหมเลือก สายใยและนัน(ลูกเขย)เองก็พร้อมที่จะเดินตามรอยเท้าผู้เป็นแม่ของเขาด้วยเช่นกัน


....แสงอรุณยามเช้าปลุกสรรพสิ่งให้ตื่นจากความหลับไหล จากความฝัน ยามเช้าคือเสรีภาพแห่งมวลชีวิตของมนุษย์ เหล่านกกาโผผินบินออกจากรังทำหน้าที่ของมัน นี่คือวัฏจักรของสิ่งมีชีวิตที่ดำเนินมา และจะเป็นอย่างนี้ต่อไปตราบนานเท่านาน วีถีครอบครัวชาวนาตั้งแต่บรรพบุรุษรากเหง้าที่ดำรงชีวิตเป็นไปด้วยความเรียบง่าย ทำให้เกิดภาพความงดงามในมโนคติของผู้ที่ได้พบเห็น และเมื่อได้เข้าไปสัมผัสคลุกคลีอย่างลึกซึ้งแล้วก็จะรู้ว่า นี่แหล่ะความสุขของชีวิตที่แท้จริง การใช้ชีวิตความเป็นอยู่แบบเรียบง่ายและพอเพียง จะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสุขทั้งร่างกายและจิตใจ และสิ่งที่เราต้องปรับใจเปิดกว้างให้ได้เพื่อให้ใจเกิดสุขนั่นก็คือความเพียงพอ ชีวิตของคนเราเริ่มต้นใหม่ได้ในทุกๆวันดั่งเช่นแสงอรุณ ค่ำคืนที่เลวร้ายผ่านเข้ามาและก็ต้องผ่านพ้นไป ยังมีเช้าวันที่สดใสรอเราอยู่ข้างหน้า ล้มวันนี้เพื่อลุกตื่นในวันข้างหน้า อุปสรรคคือสิ่งที่ต้องทะลวงฟันฝ่า เป็นบททดสอบของจิตใจ ฝึกให้เป็นคนที่สู้ชีวิตที่มีคุณค่า ก้าวย่างต่อไปข้างหน้าด้วยความทรนง ช่วงชีวิตของคนเราอาจจะมีทั้งช่วงที่มืดมนและสดใส ค่ำคืนของชีวิตอาจไม่ใช่ความมืดและถึงอย่างไรแม้ในความมืดก็ใช่ว่าเราจะมองไม่เห็นอะไรเลย เมื่อชีวิตเราต้องเผชิญกับความมืด ไม่ว่าจะสั้นหรือยาวเพียงไรจงอย่าหวั่นหรือสิ้นหวังกับการมองเห็นทางออก เพราะเมื่อเราปรับสายตาให้คุ้นชินเราก็อาจจะมองเห็นได้แม้ภาพอาจจะไม่ชัดก็ตามที.....










" วัดอุดมคีรีเขต " คือสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านหนองนางาม วัดแห่งนี้มีพระภิกษุ-สามเณรอยู่ทั้งหมด9รูป ภายใต้การปกครองของพระครูอุดมรัตนคุณ หรือที่ชาวบ้านเรียกสั้นๆจนติดปากว่า หลวงพ่อพระครูเพชร ซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดแห่งนี้ ซ้ำยังควบตำแหน่งเจ้าคณะตำบลบ้านหนองนางามอีกด้วย เสียงสนทนาดังออกมาจากศาลาการเปรียญหลังใหญ่หลังจากที่พระภิกษุ-สามเณรฉันภัตตาหารเช้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้หลวงพ่อพระครูอุดมรัตนคุณ กำลังนั่งซักไซ้ไล่เลียงกับคนกลุ่มหนึ่ง

" เอ้อ...แล้วพวกมึงสามคนซือจั่งได๋กันแนหล่ะ " เสียงหลวงพ่อพระครูฯผู้มีอภิญญาเป็นเลิศในแทบทุกด้าน เอ่ยปากถามพร้อมกับจ้องมองไปยังเด็กทั้งสามคนที่กำลังนั่งก้มหน้าสงบเสงี่ยมอยู่ยังเบื้องหน้าของท่าน

" ผมซือขวัญครับ... ผู้นี้ซือไผ่ ส่วนถัดไปซือว่าจักรครับ พวกผมเป็นหมู่กันครับหลวงพ่อ " เด็กชายตัวน้อยที่ชื่อขวัญเอ่ยปากบอกพร้อมกับพนมมือไหว้ แสดงให้เห็นว่าผ่านการอบรมบ่มนิสัยมาพอสมควร

" เออ...ดีๆ ซูมื้อนี้มันแฮ่งต๊ะหาเณรน้อยยากอยู่ บวชเข่ามากะดีแล้วหล่ะ สิได้เล่าเฮียนเขียนอ่านไปนำ วัดหลวงพ่อนี่กะเปิดสอนนักธรรมอยู่คือกัน คันตั้งใจเฮียนหลวงพ่อกะสิส่งให่ได้เฮียนจนได้ดิบได้ดีเป็นมหาพุ้นหล่ะ " ท่านเอ่ยและยิ้มอย่างมีเมตตา

" จั่งซั่นกะถือว่าเป็นวาสนาของลูกๆมันหล่ะขอรับหลวงพ่อพระครูฯ กระผมกะหวังว่าพอสิให่พวกมันฮู้จักควมแน เป็นคนดีต่อไปในข้างหน่าแค่นี้กะดีใจแล้วหล่ะขอรับ " ทิดจวนพ่อของเจ้าขวัญที่นั่งอยู่ข้างหลังของลูกชายพูดพร้อมกับยิ้มปีติเมื่อได้ยินทางหลวงพ่อพระครูฯท่านบอก

" ฉันกะบ่มีปัญญาสิส่งลูกมันเฮียนคือคนอื่นเขาดอกจ้าหลวงพ่อใหญ่ พอดีลูกมันมาขอฉันว่าอยากสิบวชเฮียนเอา กะเลยพากันเห็นดีนำ " เสียงป้าไหม แม่ของเจ้าไผ่พูดสนับสนุนทิดจวนอีกที

" เออ ..เออ..ดีแล้วหล่ะแต่ว่ามันเกิดปีได๋หล่ะสามคนหนิ " หลวงพ่อพระครูฯเอ่ยถาม

" มันเกิดปีมะเมียขอรับ" เสียงทิดจวนเอ่ยปากบอกพร้อมกับพนมมือ

" อืม....ปีมะเมียกะเป็นปีม้าเนาะ คือสิพากันคล่องแคล่วว่องไวดี อ่านออกเขียนได้อยู่ดอกตี๊ บักได๋เก่งๆวาสนาดีเดี๋ยวหลวงพ่อสิส่งเข่าไปเรียนบาลีอยู่ทางอำเภอพล หลวงพ่อมีหมู่อยู่หั่น ขออย่างเดี๋ยวไห่พากันตั้งใจหมั่นเพียรเอา เอ๊า....ลองเบิ่งหมอนี้ก่อน เกิดมื้อหยั๋งเดือนหยั๋งมึงหน่ะ " หลวงพ่อพระครูฯ ชี้มือไปที่เจ้าขวัญ










" ผมเกิดวันอาทิตย์ เดือนสิงหาคมครับ " ขวัญพนมมือบอกอย่างนอบน้อม พระครูผู้มีอภิญญารอบด้านใช้หลักคำนวนนับมืออย่างผู้รู้ไม่ถึงนาทีก็ยิ้มออกมาพลางนึกในใจว่าเด็กน้อยคนนี้เป็นผู้ที่มีวาสนาสูงยิ่งนัก น้อยคนที่เคยได้ตรวจดูดวงชะตาให้จะมีวาสนาสูงดั่งเช่นเด็กน้อยคนนี้

" หมอนี้มันวาสนาดีเว๊ย... วาสนามึงสูงอีกต่างหาก อุปถัมภ์กะดีคือกัน ..ตกวันอาทิตย์ม้าคนเลี้ยงไว้ใช้ มีเดชมีอำนาจดี เดือนเก้าตกพระยานั่งแคร่ สิได้ดิบได้ดีไปหน้า เป็นคนใจบุญ คันแม่นบวชกะสิได้เป็นฮอดเจ้าสมภารเจ้าอาวาสพุ้นหล่ะมึง สติปัญญาไหวพริบกะดี คืออยู่ว่ะ มึงหน่ะเป็นตาได้ดิบได้ดีรวยไปหน่าอยู่เด้อ " ท่านพระครูฯกล่าวยิ้มๆพร้อมกับจ้องมองเจ้าขวัญด้วยแววตาอ่อนโยน

" คันเป็นแบบนั้นอีหลีกะถือว่าเป็นบุญกระผมหล่ะขอรับ เฒ่ามากะพอสิได้เพิ่งมันแน
แฮ่งมีลูกซายอยู่ผู้เดียวอยู่ขอรับ " ทิดจวนกล่าวสุขใจอยู่ลึกๆเอื้อมเอามือไปลูบหัวลูกชายด้วยความเอ็นดู

" เอ๊า... แล้วหมอนี้เด...มึงเกิดมื้อหยั๋งเดือนหยั๋ง " หลวงพ่อพระครูฯชี้มือไปที่เจ้าไผ่ซึ่งนั่งถัดจากขวัญไป

" ผมเกิดวันเสาร์ต้นเดือนกุมภาพันธ์ครับ " ไผ่บอกพร้อมกับพนมมือ ซึ่งหลวงพ่อพระครูฯก็ใช้เวลาคำนวนตามหลักสูตรโหราศาสตร์ที่ท่านร่ำเรียนมาไม่นานเช่นกัน

" หมอนี่ตกมื้อบ่ดีปานได๋ ต่อไปหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องเจ้าของลำบากแน แต่มึงตกเดือนดีเด้อ มึงตกเดือนยี่ม้าอัศวราชธาตุไฟในแก้ว สติปัญญากะถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี วาสนามึงกะอยู่ปานกลางแต่ว่าสู่บักนี้บ่ได้ " ท่านชี้มือไปที่เจ้าขวัญพลางกล่าวกับเจ้าไผ่ต่อไปว่า

" แต่ว่ามึงตกอุปถัมภ์ดี ไปไสมาไสสิมีคนอุปถัมภ์คำซูดี เว้าง่ายๆกะคือว่ามึงมีอุปภัมภ์ดีกว่าวาสนาว่ะ เป็นคนมีศิลปะอยู่แนจั๊กหน่อย แต่ต้องคอยระวังเจ้าของเด้อมึง คบหมู่คบพวกกะเบิ่งดีๆ คันมึงบ่เฮ็ดไห่เจ้าของเดือดฮ้อนกะสิมีหมู่มาเฮ็ดไห่มึงเดือนฮ้อนแทน จำคำกูไว้ไห่ดี " ท่านกล่าวพร้อมมองตาเป็นประกายไปที่เจ้าไผ่

" ครับผม " เสียงเจ้าไผ่ตอบพร้อมพนมมือไหว้ สีหน้าไม่ค่อยสู้ดีนัก ป้าไหมเองก็ดูสีหน้าจะไม่ต่างกับเจ้าไผ่เช่นเดียวกัน

" เอ๊า.... ต่อไปบักนี้ " หลวงพ่อพระครูฯชี้มือไปที่เจ้าจักรซึ่งนั่งก้มหน้าเงียบอยู่

" ผมเกิดวันพุธปลายเดือนพฤจิกายนครับ " จักรพนมมือไหว้บอกท่าน ท่านพระครูฯนิ่งไปครู่นึงก่อนจะเอ่ยออกมาว่า

" มึงตกมื้อบ่ดีปานได๋ วันพุธตกม้าสาธารณะ หากินลำบากฝืดเคืองแน สติปัญญาดีอยู่ แต่วาสนามึงสู่บักสองคนนี่บ่ได้ อุปถัมภ์กะบ่ค่อยมีปานได๋ ตกเดือน12กะบ่ทรงดีปานได๋ มึงเป็นคนมีศรัตรูแนจักหน่อย เออ...หมอนี้ทรงใจหลายอยู่เนาะ ทุกสิ่งทุกอย่างขึ่นอยู่กับใจมึงเด้อ สิดีฮึ๊บ่ดีกะขึ่นอยู่นำใจมึง มึงต้องเลือกไห่มันดี อย่าเป็นคนมือเร็วใจเร็วเดี๋ยวมันสิติดคุกติดตะรางเอาได้ง่ายๆ แต่ว่าคันบวชเข่ามากะดีแล้วหล่ะ หลวงพ่อกะสิได้บอกได้สอนแนอยู่ดอก " ท่านเอ่ยอย่างมีเมตตาธรรม

" ฟังแล้วเป็นตาหนักใจนำมันแท้น้อขอรับพระครูฯ วาสนาฮึ๊อุปถัมถ์อั่นได๋กะบ่มีนำหมู่เขา " ทิดเลิศกล่าวด้วยสีหน้าไม่สบายใจ

" บ่พอสิแก้ได้ติจ้าหลวงพ่อ " ป้าอ้อยแม่เจ้าจักรที่นั่งอยู่ข้างๆผู้เป็นสามีกล่าวออกมาด้วยความไม่สบายใจอีกคน

" ชะตาชีวิตคนเฮาเนาะมันบ่คือกัน แม่นสิเกิดปีเดียวกันกะตามซ่างแต่มื้อเดือนมันบ่คือกันมันกะเลยต่างกันแน แข่งบุญแข่งวาสนามันกะทรงยากอยู่แหล่ว คนเฮาสิมีบุญวาสนามาก่อนกะคือสะสมส่างบุญส่างกุศลมาหลาย ส่างกรรมดีกะส่งผลมาดี แต่กะอย่าไปคิดหลายเมื่อเฮาเกิดมาแล้วเฮากะตั้งใจเฮ็ดคุณงามความดีหลายๆมันกะดีขึ่นมาเองดอก ขออย่างเดียวอย่าไปเฮ็ดนวบ่ดีเพิ่มเดี๋ยวมันสิหนักหน่าตื่มลงไปอีก " หลวงพ่อพระครูกล่าวเยือกเย็น

" ขอรับ ผมกะว่าอยู่ดอก พากันอยู่บ้านกะหายิงแต่นก กัดแต่ปลาเอาโล้ด
ได้บวชเข่ามากะสิดีขึ่นอยู่ดอกตี๊ขอรับ แต่ว่ามื้อได๋ดีหล่ะขอรับพระครู " ทิดเลิศกล่าว

" เอาเป็นว่ามื้อฮือ (วันมะรืน) ช่วงประมาณนี้กะได้เด้อพอดีว่างอยู่ มันบวชบ่ยากดอกบวชเณรน้อย บ่ยากคือบวชพระดอก เอาตามนั้นเนาะ " หลวงพ่อพระครูเอ่ย

" ขอรับ จั่งซั่นพวกผมกะสิขอโตลาก่อนขอรับ เดี๋ยวมื้อนั้นกะสิได้พาหมู่ลูกมันมาขอรับ " ทิดจวนกล่าวพร้อมกับก้มกราบลาท่าน

" ได้ๆ เอาตามนั้นเนาะ ดีแล้วดีแล้ว วัดเฮาสิได้มีเณรน้อยเพิ่มขึ่นมาอีกแน ลูกซายมาบวชแล้วกะสิดึงพ่อดึงแม่เข่ามาวัดมาส่างบุญส่างกุศลนำ " ท่านกล่าวพร้อมกับยิ้มอย่างมีเมตตา...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น